ผลการเรียนรู้ครั้งที่ 6 - COMPUTER

หน้าเว็บ

วันอาทิตย์ที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2564

ผลการเรียนรู้ครั้งที่ 6

 

ผลการเรียนรู้ครั้งที่ 6

ระบบการจัดการเรียนรู้ออนไลน์ (Online Learning Management System)

 

วันที่ 29 กรกฎาคม 2564

1. การศึกษาด้วยตนเอง

          1.1 ก่อนเข้าเรียนวันนี้ ควรทบทวนเนื้อหา และกิจกรรมการเรียนรู้ให้ครบถ้วน ในบทที่ 3 - 4

 







1.2 ให้นักศึกษาทุกคนเข้าระบบอีเลิร์นนิ่งเพื่อทดลองปฏิบัติ ที่เว็บไซต์ http://smp.yru.ac.th 

ใช้ user : รหัสประจำตัวนักศึกษา password: 12345* เพื่อเตรียมฝึกทำโครงงาน



2. เตรียมตัวเล่นเกมส์ Kahoot ทบทวนความรู้บทที่ 3 (สะสมแต้มแต่ละบท มีรางวัลคะแนนรวมสูงสุด Top 10) โดยให้เปิดเว็บ https://kahoot.it และรออาจารย์บอกรหัส และแนะนำขั้นตอนการเล่นในห้องประชุม Google Meet


3. ให้นักศึกษาทุกคนเข้าห้อง Google Meet เวลา 9.30 น.






4. จากนั้นได้มีการเรียนการสอน ในบทที่ 4 การพัฒนาบทเรียนอีเลิร์นนิ่ง โดยสรุปผลการเรียนรู้ประจำบท ซึ่งจะมีหัวข้อสำคัญดังนี้

          4.1 การพัฒนาบทเรียนอีเลิร์นนิ่ง

          4.2 ADDIE eLearning Model

          4.3 การจัดการรายวิชาใน Moodle LMS

          4.4 การสร้างแหล่งข้อมูล

          4.5 การสร้างกิจกรรมเรียนรู้

          4.6 การสร้างกิจกรรมประเมินผล

          4.7 การจัดการผู้เรียนและผู้สอน

          4.8 การรายงานประเมินผลการเรียน

          4.9 การสร้างแหล่งเรียนรู้จากภายนอก

          4.10 การประเมินผลการใช้บทเรียนอีเลิร์นนิ่ง

โดยสรุปดังนี้

          การออกแบบการเรียนการสอนอีเลิร์นนิง (Instructional design for e-Learning)


                                     ที่มา https://drive.google.com/file/d/1QUcQWIA4YTPXv16

          สําหรับการจัดการเรียนการสอนอีเลิร์นนิงนั้น แบบจําลองการออกแบบการเรียนการสอนอีเลิร์นนิงสามารถนําหลักการพื้นฐานในการออกแบบการเรียนการสอน คือแบบจําลอง ADDIE Model ทั้งองค์ประกอบ 5 ขั้นตอนคือ การวิเคราะห์ การออกแบบ การพัฒนา การนําไปใช้ และการประเมินผลมาเป็นแนวทางเพื่อการออกแบบการเรียนการสอนอีเลิร์นนิงได้เช่นเดียวกับการสอนในห้องเรียนปกติมีรายละเอียดตัวอย่างดังนี้

1. การวิเคราะห์

          ในการออกแบบการเรียนการสอนแบบอีเลิร์นนิงควรดําเนินการวิเคราะห์ รายละเอียด 5 ด้าน ดังนี้

                    1.1 วิเคราะห์ความจําเป็น

                    1.2 วิเคราะห์เนื้อหา หรือกิจกรรมการเรียนการสอน

                    1.3 วิเคราะห์ผู้เรียน

                    1.4 วิเคราะห์วัตถุประสงค์

                    1.5 วิเคราะห์สภาพแวดล้อม

2. ออกแบบ

          2.1 การเขียนผังงาน การออกแบบ storyboard เพื่อจัดลำดับความสัมพันธ์ของเนื้อหาแต่ละส่วนบท

ดําเนินเรื่อง และการออกแบบบทเรียน ภาพ ข้อความ เสียง หรือมัลติมีเดีย กิจกรรมการเรียนการกำหนด ปฏิสัมพันธ์การเรียน และการประเมินผล

         2.2 การนําตัวบทเรียนที่ผ่านการออกแบบและวิเคราะห์จากขั้นวิเคราะห์มาพัฒนาเป็นการเรียนอีเลิร์นนิง

 

3. พัฒนา

          ขั้นพัฒนาเป็นขั้นตอนของการลงมือปฏิบัติการสร้างบทเรียนตามผลการออกแบบจากขั้นตอนที่สอง ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนที่ต้องอาศัยผู้มีความเชี่ยวชาญหลายด้าน เช่น นักออกแบบคอมพิวเตอร์กราฟิก นักคอมพิวเตอร์ผู้ดูแลและจัดการระบบการจัดการเรียนการสอน (LMS :learning management system)

4. นําไปใช้

    การนําเสนอการเรียนผ่านระบบบริหารจัดการเรียนการสอนเผยแพร่บนระบบ เครือข่ายคอมพิวเตอร์(network) และสู่การนําไปจัดการเรียนการสอนจริง

5. ประเมิน

          การประเมินการวิเคราะห์ การประเมินการออกแบบ การประเมินการพัฒนาและการประเมินเมื่อนําไปใช้จริงของระบบอีเลิร์นนิง โดยกระทำระหว่างดำเนินการ คือการประเมินระหว่างดําเนินงาน (formative evaluation) และประเมินภายหลังการดําเนินงาน (summative evaluation) การประเมินจะทำให้ผู้พัฒนาทราบข้อมูลเพื่อการปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่องในขั้นตอนต่าง ๆ       

 

          ดังนั้น การออกแบบการเรียนการสอนอีเลิร์นนิงที่กล่าวมาแล้วทั้งหมดข้างต้น โดยใช้พื้นฐานการออกแบบการสอนในที่นี้ได้เน้นโดยใช้แบบจําลองการสอน ADDIE และมีตัวอย่าง แนวคิดการออกแบบการสอนแบบอีเลิร์นนิงมีสามแนวคิด เพื่อให้ผู้อ่านได้เป็นแนวทางสู่การออกแบบการสอนอีเลิร์นนิงของตนเองต่อไป ซึ่งการออกแบบการสอนควรต้องใช้ศาสตร์และศิลป์ ร่วมกันจะทําให้ประสบความสําเร็จในการสอนด้วยอีเลิร์นนิง

         

 


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น